เมนู

ย่อมประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เขานั่งที่อาสนะนั้นแล้ว ย่อม
ใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่ามกลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดแห่งกถานั้น
แม้ลุกออกจากอาสนะนั้นแล้ว ก็ย่อมใส่ใจถึงเบื้องต้นบ้าง ย่อมใส่ใจถึงท่าม
กลางบ้าง ย่อมใส่ใจถึงที่สุดบ้างแห่งกถานั้น บุคคลนี้เรียกว่า คนมีปัญญามาก.

อรรถกถาบุคคลผู้มีปัญญาเพียงดังหม้อคว่ำ เป็นต้น


สองบทว่า "ธมฺมํ เทเสนฺติ" ความว่า ภิกษุทั้งหลายละการงาน
ของตนแล้วแสดงธรรมด้วยการคิดว่า "อุบาสกมาเพื่อต้องการฟังธรรม"
บทว่า "อาทิกลฺยาณํ" ความว่า ย่อมแสดงธรรมให้งาม ให้เจริญ
คือ ให้ไม่มีโทษ คือ ปราศจากโทษในเบื้องต้น แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. ก็ในคำว่า "อาทิ" นี้ได้แก่เป็นคำเริ่มต้นครั้งแรก.
บทว่า "มชฺฌํ" ได้แก่ เป็นการกล่าวในท่ามกลาง.
บทว่า "ปริโยสานํ" ได้แก่ เป็นคำสุดท้าย. ภิกษุทั้งหลายเมื่อ
แสดงธรรมแก่เรา ย่อมแสดงธรรมให้งาม ให้เจริญ ให้ไม่มีโทษนั่นเทียว
ทั้งในคำที่เริ่มต้นครั้งแรก ทั้งในคำที่มีในท่ามกลาง ทั้งในคำที่กล่าวไว้ในที่สุด
อนึ่ง ในที่นี้ ความงามแห่งพระธรรมเทศนา อันเป็นเบื้องต้น ท่ามกลาง และ
ที่สุดมีอยู่ และความงามทั้ง 3 อย่างนั้นแห่งศาสนาก็มีอยู่. ในบรรดาความงาม
แห่งเทศนา และความงามแห่งพระศาสนานั้น พึงทราบความงามแห่งเทศนา
ก่อน คือ
พระคาถา 4 บทแห่งเทศนา บทแรกเรียกว่า เป็นความงามใน
เบื้องต้น สองบทต่อมาเรียกว่า เป็นความงามในท่ามกลาง บทสุดท้ายเรียกว่า
เป็นความงามในที่สุด. สำหรับพระสูตรที่มีเรื่องเดียว นิทานเป็นความงามใน
เบื้องต้น อนุสนธิ คือ การสืบต่อ เป็นความงามในท่ามกลาง วาจาที่กล่าว

สุดท้ายว่า "อิทมโวจ" เป็นความงามในที่สุด. สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิ
มาก คือมีเรื่องมาก (อเนกานุสนธิ) อนุสนธิแรกเป็นความงามในเบื้องต้น
ต่อจากนั้นอนุสนธิหนึ่งก็ดี หลาย ๆ อนุสนธิก็ดี. เป็นความงามในท่ามกลาง
อนุสนธิสุดท้ายเป็นความงามในที่สุด. พึงทราบนัยแห่งพระธรรมเทศนาเพียง
เท่านี้ก่อน.
ก็สำหรับนัยแห่งพระศาสนา ศีลจัดเป็นความงามในเบื้องต้น
สมาธิจัดเป็นความงามในท่ามกลาง วิปัสสนาจัดเป็นความงามในที่สุด. อีก
อย่างหนึ่ง สมาธิเป็นความงามในเบื้องต้น วิปัสสนาเป็นความงามในท่ามกลาง
มรรคเป็นความงามในที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาเป็นความงามในเบื้อง
ต้น มรรคเป็นความงามในท่ามกลาง ผลเป็นความงามในที่สุด. อีกอย่าง
หนึ่ง มรรคเป็นความงามในเบื้องต้น ผลเป็นความงามในท่ามกลาง นิพพาน
เป็นความงามในที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง (ท่านจัดเป็นคู่) คือ ศีลกับสมาธิจัด
เป็นความงามในเบื้องต้น วิปัสสนากับมรรคจัดเป็นความงามในท่ามกลาง ผล
กับพระนิพพานจัดเป็นความงามในที่สุด.
บทว่า "สาตฺถํ" ได้แก่ แสดงธรรมให้เป็นไปกับด้วยประโยชน์.
บทว่า "สพฺยญฺชนํ" ได้แก่ แสดงธรรมให้มีอักขระบริบูรณ์.
บทว่า "เกวลปริปุณฺณํ" ได้แก่ แสดงธรรมการทำให้บริบูรณ์โดย
สิ้นเชิง คือไม่ให้บกพร่อง.
บทว่า "ปริสุทฺธํ" ได้แก่ แสดงธรรมให้บริสุทธิ์ ให้หายรกชัฏ
คือ ให้หายความฟั่นเฝือ.
สองบทว่า "พฺรหฺมจริยํ ปกาเสนฺติ" ความว่า ก็เมื่อแสดงธรรม
อยู่อย่างนั้น ชื่อว่า ย่อมประกาศอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ อันสงเคราะห์ด้วย
ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา อันท่านผู้ประเสริฐประพฤติแล้ว.

ข้อว่า "เนว อาทึ มนสิกโรติ" ได้แก่ ไม่มนสิการถ้อยคำที่ตั้ง
ไว้ในเบื้องต้น.
บทว่า "กุมฺโภ" ได้แก่ หม้อ.
บทว่า "นิกุชฺชิโต" ได้แก่ หม้อที่เขาตั้งคว่ำปากไว้. ในคำนี้ว่า
"เอวเมว" ความว่า บัณฑิต พึงเห็นบุคคลผู้มีปัญญาที่เปรียบด้วยหม้อ
คว่ำ
ก็เหมือนกันหม้อที่เขาคว่ำปากไว้. บัณฑิตพึงเห็นเวลาที่เขาได้ฟังพระ-
ธรรมเทศนา เปรียบเหมือนเวลาที่รดด้วยน้ำ. พึงเห็นเวลาที่เขานั่ง ณ อาสนะ
นั้นแล้วไม่สามารถเพื่อเรียนธรรมได้ เปรียบเหมือนเวลาที่น้ำไหลออกไปจาก
หม้อ. พึงทราบว่าเวลาที่เขาสุกขึ้นจากอาสนะแล้วกำหนดธรรมไม่ได้ เปรียบ
เหมือนเวลาที่น้ำไม่ขังอยู่ในหม้อ.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า อวกุชฺชปญฺโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาเหมือนหม้อคว่ำ. อธิบายว่า
มีปัญญาเหมือนหม้อน้ำที่เขาตั้งคว่ำปากไว้.
บทว่า "อากิณฺณานิ" ได้แก่ ใส่เข้าแล้ว.
สองบทว่า "สติสมฺโมสา ปกิเรยฺย" ความว่า เพราะเผลอสติ สิ่ง
ของทั้งหลายจึงกระจัดกระจายไป. บัณฑิตพึงเห็นบุคคลผู้มีปัญญาดังหน้าตัก
(ชายพก) ก็เหมือนกับหน้าตักที่ท่านตรัสไว้ในคำว่า "เอวเมว" นี้. บัณฑิตพึง
เห็นพุทธพจน์มีประการต่าง ๆ เหมือนอาหารที่เคี้ยวกินนานาชนิด. พึงทราบว่า
เวลาที่เขานั่ง ณ อาสนะนั้นแล้วเรียนพุทธพจน์ เหมือนเวลาที่เขานั่งเคี้ยวกิน
ของที่ควรเคี้ยวกินต่าง ๆ ชนิดอยู่บนหน้าตัก. พึงทราบว่า เวลาที่เขาลุกจาก
อาสนะนั้นแล้วเดินไปไม่สามารถกำหนดธรรมได้ เปรียบเหมือนเวลาที่เขา
เผลอลืมสติลุกขึ้นทำให้ของเคี้ยวกินกระเด็นกระจัดกระจายไป.

สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า อุจฺฉงฺคปญฺโญ แปลว่า มีปัญญาเพียงดังหน้าตัก. อธิบายว่า มี
ปัญญาเช่นกับหน้าตัก.
บทว่า "อุกฺกุชฺโช" ได้แก่ หม้อที่เขาตั้งหงายปากขึ้นเบื้องบน.
บทว่า "สณฺฐาติ" ได้แก่ น้ำที่ขังอยู่. ในคำว่า "เอวเมว โข"
นี้บัณฑิตพึงเห็นบุคคลผู้มีปัญญามาก เหมือนหม้อที่เขาตั้งหงายปากขึ้นเบื้องบน
พึงทราบว่า เวลาที่เขาได้ฟังธรรมเทศนาแล้ว เหมือนเวลาที่เขารดน้ำ (เทน้ำ
ใส่หม้อ). พึงทราบว่า เวลาที่เขานั่งเรียนพุทธพจน์ในที่นั้น เปรียบเหมือน
เวลาที่น้ำขังอยู่ พึงทราบว่า เวลาที่ลุกขึ้นจากอาสนะเดินไปยังสามารถกำหนด
พุทธพจน์ได้ เปรียบเหมือนเวลาที่น้ำไหลออกไป.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้เรียกว่า
ปุถุปญฺโญ แปลว่าผู้มีปัญญามาก. อธิบายว่า มีปัญญากว้างขวาง.

[92] 1. บุคคล ผู้มีราคะยังไม่ไปปราศในกามและภพ เป็น
ไฉน ?

พระโสดาบัน และพระสกทาคามีบุคคล เหล่านี้ เรียกว่า บุคคล
มีราคะยังไม่ไปปราศในกามและภพ.

2. บุคคล มีราคะไปปราศแล้วในกาม แต่มีราคะ
ยังไม่ไปปราศแล้วในภพ เป็นไฉน ?

พระอนาคามีบุคคล เรียกว่า บุคคลมีราคะไปปราศแล้วในกาม
แต่มีราคะยังไม่ไปปราศแล้วในภพ.

3. บุคคล ผู้มีราคะไปปราศแล้ว ในกามและในภพ
เป็นไฉน ?

พระอรหันต์ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีราคะไปปราศแล้ว ในกาม
และภพ.


อรรถกถาบุคคลผู้มีราคะยังไม่ไปปราศเป็นต้น


พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ยังไม่ปราศจากราคะในกามคุณทั้ง
5 และภพทั้ง 3 ฉันใด แม้ปุถุชนก็ฉันนั้น. แต่สำหรับปุถุชนนั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอาเพราะไม่เป็นทัพพบุคคล. เหมือนอย่างว่า นายช่างไม้
ผู้ชาญฉลาด เข้าไปสู่ป่าเพื่อต้องการทัพพสัมภาระ เขาย่อมไม่ตัดต้นไม้ที่มา
พบแล้วและพบแล้วจำเดิมแต่ต้น แต่ว่าไม้เหล่าใดที่เข้าถึงความเป็นทัพพ-
สัมภาระได้ เขาย่อมตัดต้นไม้เหล่านั้นนั่นแหละฉันใด พระอริยสาวกทั้งหลาย
ผู้มีทัพพชาติเหล่านั้น (ผู้มีชาติแห่งความสามารถ) พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง
ถือเอาแล้วแม้ในที่นี้ ฉันนั้น ส่วนปุถุชน บัณฑิตพึงทราบว่าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าไม่ทรงถือเอาเพราะความไม่มีทัพพชาติ คือ ผู้ไม่มีความสามารถเพื่อจะ
ตรัสรู้ธรรม. (คำว่า "ทพฺพ" ศัพท์นี้ แปลได้หลายอย่าง เช่น ควร, สมควร,
สามารถ, ปัญญา, ทรัพย์สมบัติ สิ่งที่มีค่า)
สองบทว่า "กาเมสุ วีตราโค" ได้แก่ ผู้ปราศจากราคะในเบญจ-
กามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่ารักใคร่ น่าปรารถนา.
สองบทว่า "ภเวสุ อวีตราโค" ได้แก่ ผู้ยังไม่ปราศจากราคะ คือ
ผู้ยินดีในรูปภพและอรูปภพ.